วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ในหลวงของเรา



  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเฉลิมพระปรมาำิภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  2. เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช 1289 รัตนโกสินทร์ศก 146 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาการแพทย์อยู่
  3. ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระบรมเชษฐา 1 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทุกพระองค์ประสูติในต่างประเทศ
  4. เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อพระชนม์ได้ 1 ชันษา ในเดือนธันวาคม 2471
  5. ทรงสูญเสียทูลกระหม่อมพ่อตั้งแต่พระชนม์ไม่ถึง 2 พรรษาโดยสมเด็จพระบรมราชชนกทรุงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในวันที่ 24 กันยายน 2472
  6. ทรงศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพเว้นแต่ในช่วงพระชนมพรรษา 5 พรรษา ได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี 1 ปี ก่อนเสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  7. ทรงจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์ ชั้นมัธยมจากโรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลีซูร โลซานน์ ต่อมาในปี 2481 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์โดยทรงเลือกแผนกวิทยาศาสตร์
  8. เสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่สอง วันที่ 5 ธันวาคม 2488 ขณะพระชนมพรรษา 18 พรรษา
  9. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 คณะรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์แทน แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จฯกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  10. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สองหลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข
  11. ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492
  12. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสที่วังสระปทุมในวันที่ 28 เมษายน 2493 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนต่อมา
  13. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
  14. ทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ และพระราชโอรส 1 พระองค์ โดยทุกพระองค์ประสูติที่เมืองไทย ยกเว้นพระราชธิดาองค์โตคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติทีเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  15. ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน โดยทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ข้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  16. เสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2502 โดยเสด็จเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรก และเสด็จเยือดแคนาดาเป็นประเทศสุดท้ายในปี 2510 รวมทั้งสิ้น 31 ครั้ง 28 ประเทศ และนับแต่นั้นมามิได้เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักรอีกเลยจนกระทั่งปี 2537 ทรงเสด็จเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น
  17. การเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการยาวนานที่สุดกินเวลา 7 เดือนเต็มมีขึ้นเมื่อปี 2503 โดยเสด็จเยือน 14 ประเทศในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา
  18. จตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสะท้อนความภาคภูมิใจของชาวเมืองเคมบริดจ์ในฐานะที่เป็นเมืองเดียวของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีพระมหกษัตริย์เสด็จพระราชสมภพ
  19. ทรงขึ้นชื่อว่าเป็นอัครศิลปิน เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระอัฉริยะภาพหลายด้าน โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจากตำราต่าง ๆ ในด้านจิตรกรรมทรงเริ่มสนพระทัยวาดภาพเมื่อพระชนมพรรษาได้ 10 พรรษา และทรงวาดภาพอย่างจริงจังเมื่อปี 2502 โดยมักทรงใช้เวลาในตอนค่ำหลังว่างจากพระราชภารกิจ แต่นับจากปี 2510 เป็นต้นมา ก็มิได้ทรงเขียนภาพอีกเลย
  20. เมื่อปี 2525 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์จำนวน 47 ภาพ ไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งยังทรงดำรงสิริราชสมบัติอยู่ ทรงแสดงภาพจิตรกรรมในฐานะศิลปินเดี่ยว
  21. ด้านปติมากรรม ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่าง ๆ ทั้งงานปั้น หล่อและทำแม่พิมพ์ งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์แบบลอยตัว เก็บรักาาที่ตู้พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มี 2 ชิ้นคือ รูปปั้นผู้หญิงเปลือยนั่งคุกเข่า ปั้นด้วยดินน้ำมัน และพระรูปปั้นครึ่งพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
  22. โปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ เช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงจัดทำห้องมืดขึ้นที่ชั้นล่างตึกทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนใหญ่เป็นแบบฉับพลันทันเหตุการณ์ ซึ่งทรงบันทึกไว้ระหว่างเสด็จฯไปตามสถานที่ต่าง ๆ
  23. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทุกภาพ จะทรงจัดให้มีหมายเลขประจำภาพ เช่น ภาพครอบครัว, พระราชพิธี, ภาพราษฎรที่มาเฝ้า รวมถึงภูมิประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
  24. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานที่ใด จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่งคือ แผนที่ ซึ่งทรงจัดทำขึ้นเอง, กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ โดยเวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนลงบนแผนที่ เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชินีทรงกระทำมาก่อน
  25. ทรงเคยประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องร่อนและเรือรบจำลอง
  26. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนาเมื่อปี 2536
  27. กีฬาที่ทรงโปรดของพระองค์คือ แบดมินตัน, สกี และเรือใบ
  28. เมื่อปี 2507 ทรงต่อเรือใบที่ใช้งานได้จริงลำแรก เป็นเรือมาตรฐานสากลประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ คลาส พระราชทานชื่อว่า "ราชปะแตน" และปล่อยเป็นปฐมฤกษ์ในคูน้ำรอบสวนจิตรดา
  29. ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองมาแล้วหลายลำ รวมถึงเืรือชื่อ มด ซุปเปอร์มด และไมโครมด ซึ่งจดทะเบียนระดับนานาชาติประเภท Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ
  30. นอกจากจะทรงโปรดเครื่องดนตรีเป่าทุกชนิดแล้ว ยังทรงกีตาร์และเปียโนด้วย ทรงเป็นผู้นำด้านการประพันธ์เพลงสากลของเมืองไทย โดยใส่คอร์ดดนตรีแปลกใหม่และซับซ้อน ทำให้เกิดเสียงที่เข้มข้น
  31. เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงซื้อคือ คลาริเน็ต เมื่อพระชนมพรรษา 10 พรรษา
  32. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรกเมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา โดยเพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" และจนถึงขณะนี้ พระราชนิพนธ์เพลงไว้แล้ว 47 เพลง
  33. เมื่อเดือนธันวาคม 2529 ทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์พระราชนิพนธ์คำร้องและโน้ตเพลงครั้งแรก
  34. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  35. ทรงตั้งวงดนตรี "อ.ส. วันศุกร์" ย่อมาจากชื่อพระที่นั่งอัมพรสถาน สถานที่ทรงก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ส่วนวันศุกร์คือ วันที่ทรงดนตรีเป็นประจำ
  36. ทรงมีพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษา โดยทรงถนัดทั้งภาษาฝรั่งเศส,เยอรมัน และอังกฤษ
  37. นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง อาทิ พระราชนิพนธ์เรื่อง "พระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" และเรื่อง "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิสเซอร์แลนด์" ยังทรงอุทิศเวลาให้กับพระราชนิพนธ์แปลด้วย เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ, ติโต และพระมหาชนก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากพระไตรปิฎก
  38. พระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2531 ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองปีกาญจนาภิเษก เมื่อปี 2539
  39. ทรงเป็นพระมหากษัตร์ย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยเป็นระยะทางไกลจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงใหม่
  40. เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของประเทศไทย
  41. เสด็จฯทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลสายแรกของประเทศและประทับรถไฟใต้ดิน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547
  42. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี
  43. ทรงมีสุนัขทรงเลี้ยง 34 ตัว มีคุณทองแดง สุวรรณชาด เป็นสุนัขทรงโปรด ได้รับฉายาว่า สุนัขประจำรัชกาล
  44. ทรงช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่เกษตรกร ทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน
  45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหัน
  46. ทรงริเริ่มโครงการนาข้าวทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา จากนั้นทรงริเริ่มโครงการโรงโคนม จัดตั้งเป็นโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนมอย่างถูกวิธี
  47. จนถึงปัจจุบัน มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วเกือบ 3 พันโครงการมีทั้งเรื่องการศึกษา,สิ่งแวดล้ม,สาธารณสุข,สวัดิการสังคม และชลประทาน
  48. โครงการหลวง เป็นโครงการที่ทรงริเริ่มขึ้น เมื่อปี 2512 เพื่อช่วยเหลือชาวเขาทางภาคเหนือให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกปลูกฝิ่นและหันมาปูกพืชเศรษฐกิจแทน
  49. เนื่องจากทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องทนทุกข์จากการอาศัยในถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำ จึงทรงริเริ่มโครงการฝนหลวง โดยทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งรก ที่บริเวณอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี 2512
  50. ทรงริเริ่มโครงการเพื่อการศึกษาไว้มากมาย โดยทรงตั้งทุนภูมิพล พระราชทานทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนทุนเล่าเรียนหลวงริเริ่มขึ้นในสมัย ร.5 และยกเลิกไป เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังทรงรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี 2508 เพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง
  51. โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้น เมื่อปี 2515 ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
  52. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามภูมิภาคต่าง ๆ รวม 6 แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบท
  53. โครงการพระดาบส เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจัดตั้งขึ้นปี 2519 เพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา
  54. ในปี 2535 องค์การอนามัยโลกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเทิดพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านสุขภาพอนามัยเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง
  55. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาลที่ปากทางเข้าพระราชฐานเกือบทุกแห่ง โดยไม่คิดค่ารักษา
  56. ชาวบ้านจำนวนมากทุกข์ทรมานจากโรคฟัน จึงทรงให้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่
  57. ทรงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาประเทศไว้หลายแห่ง รวมถึงมูลนิธิชัยพัฒนา เน้นช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเร่งด่วน ซึ่งทางราชการไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้ทันที
  58. โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง
  59. ในห่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจทรงพระราชทานปรัชญาสำคัญแก่ประชาชนชาวไทย นั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีพอย่างพอเีพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง
  60. ล่าสุดทางสหประชาชาติ นำโดย "โคฟี อันนัน" ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ยูเอ็นยกย่องว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งทรงริเริ่มปรัชญาสำคัญ ๆ ไว้มากมายโดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลกและมีหลายประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น